ทำไมหลังเลิกเรียนถึงหิวนัก?
ซื้อกินเท่าไรก็ได้ แต่ขอให้กินแล้วอิ่ม และหายเหนื่อยพอ! การหาอะไรกินหลังเลิกเรียนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เด็กๆใช้ในการผ่อนคลาย และเพลิดเพลิน ใครจะไปรู้ว่าการเรียนหนักมาทั้งวันจะทำให้หิวโซได้ขนาดไหน จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นได้ว่ามีการเพิ่มเวลาเรียนให้กับโรงเรียนประถมและมัธยมทั่วประเทศ โดยกำหนดให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาต้องมีเวลาเรียนรวมจากเดิมที่เรียนไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง เป็นไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากเดิมที่เรียนไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง เป็นไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเด็กนักเรียนไทยส่วนใหญ่นั้นเมื่ออยู่โรงเรียนก็ใช้เวลากับการเรียนไปค่อนข้างมากกันเลยทีเดียว หรือว่าความเหนื่อยล้า และความตึงเครียดจากการเรียนจะทำให้สมองเราตึงเครียด และกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้นเลยทำให้ช่วงเวลาหลังเลิกเรียนนั้นเราจะหิวเป็นพิเศษกันนะ?
เราไม่ได้คิดไปเองว่าเมื่อเรียนเสร็จแล้วทำไมเราถึงหิวเป็นพิเศษ ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อธิบายว่า เมื่อร่างกายเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด เช่น ช่วงสอบ อกหัก ตกงาน จะเกิดการหลั่งของฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อความเครียด ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คอร์ติซอล (Cortisol) เมื่อสภาวะที่ตึงเครียดบีบคั้นหายไป ระดับของฮอร์โมนเครียดก็จะลดลง แต่หากมีภาวะเครียดเรื้อรัง เช่น สอบไม่จบไม่สิ้น อกหักแล้วยังทำใจไม่ได้เสียที ก็จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเครียดสูงเรื้อรัง ซึ่งส่งผลเสียกับร่างกายเราหลายด้าน โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวมี เพราะร่างกายเข้าใจว่าในภาวะเครียด เราต้องการพลังงานจำนวนมาก เพื่อประทังชีวิต ฮอร์โมนเครียดจึงสั่งการให้เราหิวง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต หรืออาหารน้ำตาลสูง อาหารแคลอรี่สูง ขนมอย่างไอศกรีม เค้ก และช็อคโกแล็ต จึงเป็นตัวเลือกแรกๆที่เราอยากหามารับประทานในยามเครียด
healthline อธิบายว่า จากมุมมองทางสรีรวิทยา ความเครียดทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า คอร์ติซอล ออกมาเพิ่มมากขึ้น เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น คุณอาจสังเกตเห็นได้ว่า คุณมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นและมีความต้องการที่จะรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล เค็ม หรือมีไขมันมาก อย่างไรก็ตาม ความอยากกินนี้ไม่ได้เกิดจากการท้องว่าง แต่เป็นสมองของคุณที่สั่งให้คุณกิน เพื่อที่คุณจะได้เตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่อาจเป็นมากจากความตึงเครยีด โดยปกติแล้วความเครียดจะลดลงและระดับคอร์ติซอลจะกลับสู่ปกติเมื่อได้กิน นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีความเครียดยังเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ไม่สบายใจอีกด้วย หากคุณรู้สึกเศร้าหลังจากสูญเสียอย่างกะทันหันหรือหงุดหงิดหลังจากทะเลาะกับคนที่คุณรัก คุณอาจหันไปหาขนม มันฝรั่งทอดหนึ่งถุง หรือลูกอมแท่งเพื่อจัดการอารมณ์ของคุณแทน และประการสุดท้าย การรับประทานอาหารเพื่อลดความความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้จากสภาพแวดล้อมของคุณ เช่น สภาวะทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ที่ต้องสูญเสียไปในช่วงการระบาดของโควิด-19
ไม่ได้มีแต่ความเครียดที่ทำให้เรากินมากขึ้นเท่านั้น สำหรับบางคนความเครียดก็สามารถทำให้มีความอยากอาหารน้อยลงได้อีกด้วย จากคำอธิบายของดร. อัลเบอร์ส คุณหมอศูนย์สุขภาพครอบครัว Wooster ได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “บางคนกินมากเกินไปเมื่อรู้สึกเครียด และคนอื่นๆ สูญเสียความอยากอาหาร … คนที่หยุดกินมักจดจ่อกับความเครียดจนไม่ได้ยินหรือไม่รู้สึกถึงความหิว ส่วนผู้ที่กินมากเกินไป ก็กำลังพยายามเบี่ยงเบนความสนใจด้วยอาหาร” สมองของเราส่งสัญญาณไปยังร่างกายของเราเมื่อเรารู้สึกเครียด นั่นเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองแบบสู้หรือหนี ซึ่งช่วยให้เราจัดการกับภัยคุกคามที่รับรู้ในสภาพแวดล้อมของเรา
อาหารไม่เพียงกระตุ้นปฏิกิริยาทางเคมีเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์ด้วย ทั้งหมดนี้นั้นเพื่อพยายามช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและคลายความเครียด “คุณอาจสังเกตเห็นว่าคุณชอบอาหารบางประเภทเมื่อคุณรู้สึกเครียด อย่างเช่น ช็อกโกแลตหรือเกลือ” ดร. อัลเบอร์สกล่าว แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่ารู้นั้นคือ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารเพื่อลดความความเครียดนั้นจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นเพียงประมาณสามนาทีเท่านั้น มีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินในขณะที่เครียดแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมนี้อาจส่งผลต่อการเผาผลาญของคุณ ในการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เข้าร่วมที่รายงานว่ามีความเครียดตั้งแต่หนึ่งอย่างขึ้นไปในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เช่น ารไม่ลงรอยกันกับเพื่อนหรือความกดดันจากการทำงาน มีการเผาผลาญแคลอรี่น้อยกว่าผู้หญิงที่ไม่เครียดถึง 104 แคลอรีในเจ็ดชั่วโมง หลังรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง นักวิจัยกล่าวว่าการประสบกับเหตุการณ์ตึงเครียดอย่างน้อยหนึ่งวันก่อนที่จะรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเพียงมื้อเดียว สามารถชะลอการเผาผลาญของร่างกายได้มากจนผู้หญิงอาจเห็นน้ำหนักเพิ่มขึ้น 11 ปอนด์ ตลอดระยะเวลาหนึ่งปี
นอกจากนี้เว็บเด็กดี (dek-d) ยังอธิบายอย่างสรุปอีกว่า 4 สาเหตุหลักๆที่ทำให้เราทำไมยิ่งเรียน ยิ่งหิว มีดังนี้
- ใช้ความคิดทางสมองมาก เพราะสมองก็ต้องการช้พลังงานเช่นกัน
- นอนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ระดับฮอร์โมนไม่ปกติ
- เครียดมาก สมองก็จะสั่งให้รู้สึกหิวมากขึ้นด้วย
4.จดจ่อและใช้สมาธิเป็นเวลานาน ทำใหร่างกายใช้น้ำตาลในกลูโคสในเลือดเร็วขึ้น
จากคำอธิบายข้างตนทั้งหมด คงชัดเจนแล้วว่า ความเครียดของเราส่งผลให้เรานั้นรู้สึกหิวมากกว่าปกติจริง เพราะฉะนั้นร้านค้าที่ขายของกินให้เราในช่วยหลังเลิกจึงถือว่าเป็นสวรรค์ของเราในเวลาเลิกเรียนที่เราจะได้เลือกซื้อของกินได้หลากหลาย อร่อย แถมยังมีราคาถูกอีกต่างหาก นั่นเลยทำให้การหาอะไรกินหลังเลิกเรียนนั้นเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดเลยก็ว่าได้ และเป็นอีกหนึ่งความทรงจำในวัยเรียนที่คิดถึงที่สุดเช่นกัน อย่างไรก็ตามการบริโภคแต่น้อย และออกกำลังกายเพื่อสุขภาพก็ยังถือว่าสำคัญ อย่าให้ช่วงเวลาที่เราเครียดมาจากการเรียนและกินแหลกลานมาทำให้สุขภาพเราแย่ลงได้
แล้วการรับประทานอาหารทำให้เรามีความสุขขึ้นได้จริงหรือเปล่า? ถ้าไม่ได้นับว่าการกินเพื่อลดความเครียดนั้นอาจเป็นพติกรรมที่ไม่ค่อยส่งผลดีต่อร่างกายของเราเท่าไหร่ เพราะอาจทำให้ระบบเผาผลาญของเราทำงานได้แย่ลง เพราะบางครั้งเราอาจทานอาหารปริมาณมากขึ้นกว่าปกติ และอาจะส่งผลให้เราเลือกทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเรามากขึ้น แล้วอาหารจะทำให้เรามีความสุขเพิ่มมากขึ้นไหม?
งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า “สิ่งที่คุณกินนั้นส่งผลต่ออารมณ์ของคุณ” Umadevi Naidoo, M.B.Ch.B. ผู้อำนวยการจิตเวชศาสตร์โภชนาการและวิถีชีวิต โรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ในบอสตันกล่าว
เคยสังเกตไหมว่า ถ้าหากเรารับประทานไอศกรีมในวันที่เราผ่านเรื่องยากลำบากมาหรือการรับประทานช็อกโกแลตสามารถทำให้เรารู้สึกดได้ชั่วขณะ เห็นได้ชัดว่าขนมหวานสามารถให้ความสุขชั่วคราวแก่เราได้ เพราะมันช่วยเพิ่มพลังให้กับร่างกายของเราอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่สมดุลอย่างสม่ำเสมอพร้อมกับวิตามินทั้งหมดที่บุคคลต้องการนั้นแสดงให้เห็นว่าช่วยเพิ่มอารมณ์ของบุคคลและคลายความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ในหลายกรณี พูดง่ายๆว่า โภชนาการมีพลังในการรักษาร่างกายทั้งภายในและภายนอก ซึ่งรวมถึงอารมณ์ของเราด้วยนั่นเอง
เพื่อให้เข้าใจว่าอาหารสามารถทำให้คุณมีความสุขได้อย่างไร สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าสมองควบคุมอารมณ์อย่างไร สมองใช้สารสื่อประสาทเป็นสัญญาณสื่อสารเพื่อสื่อสารกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายเราและรวมไปถึงการกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ สารอาหารในอาหารจึงสามารถส่งเสริมการผลิตสารเคมีที่ทำให้ร่างกายขอคนเรานั้นรู้สึกดี ซึ่งได้แก่ สารเซโรโทนินและโดปามีน
เซโรโทนินควบคุมอารมณ์ของคุณและส่งเสริมการนอนหลับ เซโรโทนินต่ำมีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า แม้ว่าจะยังไม่ทราบว่าเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าหรือสาเหตุจากภาวะซึมเศร้าโดยปกติแล้ว เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงกับความสุขมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของเราต้องการเซโรโทนิน เพื่อควบคุมการนอนหลับและความเจ็บปวด นอกจากนี้ยังเหมือนเป็นโรงผลิตไฟฟ้าทีมีหน้าที่สำคัญในการต่อต้านสารสื่อประสาทกระตุ้น [แหล่งที่มา: Neurogistics] นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ช่วยในการผลิตเซโรโทนิน ได้แก่ ผักโขม ไก่งวง และกล้วย ผักโขมมีโฟเลตเข้มข้น ซึ่งเป็นวิตามินบีที่ใช้ในกระบวนการสร้างเซโรโทนิน กล้วยและไก่งวงบรรจุทริปโตเฟนซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่เปลี่ยนเป็นเซโรโทนินในสมองจำนวนมาก
ในส่วนของโดพาามีนมีส่วนในการจัดการแรงจูงใจ ความสนใจ และรางวัลทางอารมณ์ ความพึงพอใจที่พวกเรารู้สึกตอนทำอะไรสักอย่างสำเร็จเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากการที่โดพามีนนั้นพุ่งพล่าน หากมีโดพามีนต่ำเกินไปอาจจะทำให้ขาดแรงจูงใจ และเสียความสนใจในสิ่งที่เรากำลังสนใจอยู่ได้
อย่างไรก็ตาม การขาดอาหารบางชนิดก็อาจส่งผลต่อความรู้สึกของคุณ เช่น อาจทำให้คุณเศร้าได้ กรดไขมันที่เรียกว่ากรดโดโคซะเฮกซะอีโนอิก (DHA) เป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่พบมากที่สุดในเซลล์สมองและประสาทตา ซึ่งอาหารที่ให้กรด DHA หลักๆ แล้วมีอยู่ 2 แหล่ง นั่นคือ ปลาและหอย แม้ว่าอาหารบางชนิดจะช่วยเพิ่มอารมณ์ในสมองของมนุษย์ แต่การจำกัดการบริโภคอาหารอาจส่งผลต่อความสุขได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ฮอร์โมนที่เรียกว่า เกรลิน (ghrelin) ในกระเพาะอาหารจะไปที่สมองและบอกว่าได้เวลากินแล้ว เมื่อเกรลินถูกผลิตออกมา คุณจะรู้สึกหิว หลังจากที่คุณกินอาหารเข้าไป การผลิตเกรลินจะหยุดลงและสมองของคุณจะหยุดรับสัญญาณความหิว
เมื่อคุณไม่นับประทานอาหาร การผลิตเกรลินจะดำเนินต่อไปและฮอร์โมนจะถูกสร้างขึ้นในสมอง ของเรา ซึ่งถึงแม้ว่าเกรลินที่เพิ่มขึ้นจะช่วยยืดอายุความหิวของเราไว้ได้ แต่นักวิจัยพบว่าฮอร์โมนชนิดนี้ยังทำหน้าที่เป็นยากล่อมประสาทตามธรรมชาติชั้นดีอีกด้วย การศึกษาของมหาวิทยาลัยเท็กซัสในปี 2551 พบว่าหนูที่ฉีดเกรลินแสดงอาการเครียดและวิตกกังวลลดลง [แหล่งที่มา: Lutter, et al] ที่น่าสนใจคือ หนูที่ถูกควบคุมอาหารแบบจำกัดแคลอรี (40 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณแคลอรีปกติ) มีผลลัพธ์ที่แสดงออกมาเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นทางจิตวิทยาหรือทางสรีรวิทยา ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าอาหารมีผลอย่างมากต่ออารมณ์ของเรา ดูเหมือนว่าการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อเคมีในสมองอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการกินอย่างมีความสุข แต่การปล่อยตัวตามสบาย ลืมนับแคลรอลี่ไปบ้าง ทานของหวานไปบ้างเป็นครั้งคราว ก็ทำให้เรามีความสุขได้เช่นเดียวกัน บางทีความสมดุลของอาหารที่มีคุณค่าทางทั้งทางโภชนาการ และความสมดุลของอาหารที่มีคุณค่าต่อใจอาจช่วยรักษาสมดุลในอารมณ์ของคนเราได้ดีที่สุด
จากเมนูหลังเลิกเรียนที่เราคิคถึงที่เรามานำเสนอวิธีการทำกันแล้วนั้น วันนี้เราได้หยิบหยก 2 เมนูจากเมนูหลังเลิกเรียนอย่าง เฟรนช์ฟรายส์ราดชีส และไก่ทอดเคลือบซอสเกาหลี ทั้งสองเมนู มีสิ่งที่น่าสนใจให้พูดถึงนั่นก็คือ ชีสดิป และซอสเคลือบไก่เกาหลีนั้นเอง ซึ่งวันนี้เราจะหยิบมาพูดถึงทั้งในแง่ของประวัติเป็นมา ข้อมูลต่างๆของทั้งสองเมนู ที่จะทำให้เราทั้งได้ความรู้ และรู้สึกหิวไปพร้อมๆกัน เราไปทำความรู้จักกับสองเมนูนี้ให้มาขึ้นดีกว่าค่ะ